วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวัน

หมวด:
ชั้น:
อันดับ:
วงศ์:
เผ่า:
สกุล:
สปีชีส์:
H. annuus
านตะวัน มีชื่อตามภาษาถิ่นพายัพว่า บัวผัด เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในสกุล Helianthus ด้วยเช่นกัน
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก ปัจจุบัน มีการปลูกทานตะวันเป็นท้องทุ่งจำนวนมากในประเทศไทย แม้กระทั่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ ริมถนนประเสริฐมนูกิจ หลังโรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และนิยมถ่ายรูปที่ได้รับความนิยม 

การใช้ประโยชน์

านตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร
ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพ-นิกส์ และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg 

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของทานตะวัน

สารสำคัญที่พบได้แก่ Abscisic acid, Beta-carotene, Citric acid, Coumaric acid,Cumin alcohol, Cyamidin, Glycoside, Glandulone A, Bgibberellin A, Vanillin, Vitamin B2 ทั้งต้นพบว่ามีสาร Cryptoxanthin, Earotenoids, Globulin, Glycocoll, Quercimeritin, Phospholipid Methionine, Seopoline Heliangine, Tocopherol ส่วนในเมล็ดพบโปรตีน 55%, ออกไซด์คาร์บอเนต 41.6%, น้ำมันประมาณ 55% และในน้ำมันพบสารLinoleic acid 70%, Glycerol oil, Phosphatide, Phospholipid, B-Sitosterol และพบน้ำมันระเหยอีกหลายชนิด ส่วนเปลือกเมล็ดพบน้ำมัน 5.17%, โปรตีน 4%, ขี้ผึ้ง 2.96% และยังมี Cellulose, Pentosan, และ Lignin ทานตะวันมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการก่อมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไขมันในเลือดสูง

การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน                                                             

ารเตรียมดิน การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์
การปลูก หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่
การใส่ปุ๋ย ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น
การให้น้ำทานตะวัน น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้ ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดน้ำ ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขังการให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด [11]

ทานตะวันกับแสงอาทิตย์

คือ ดอกทานตะวันหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ เป็นการตอบสนองแบบ (Positive Phototropism)[12]คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเพียงด้านเดียว เกิดจากฮอร์โมน ออกซิน (Auxin)[13]เพราะแสงมีอิทธิพลทำให้การกระจายตัวของ(ออกซิน)เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เมื่อแสงส่องมายังพืช ด้านที่ได้รับแสงจะมีออกซินน้อยเพราะออกซินได้หนีไปอยู่ด้านที่มืดกว่า ด้านที่มืดจึงมีการยืดตัวและมีการเจริญเติบโตมากกว่าด้านที่รับแสง ยอดของพืชจึงโค้งเบนเข้าหาแสงจึงดูเหมือนว่าดอกทานตะวันหันหน้ามองพระอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากแบบ (Negative Phototropism)[14] ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวหาแสง เช่น หญ้าแพรก (ข้อสังเกต) ดอกทานตะวันที่มีอายุน้อยจะหันหน้าหาดวงอาทิตย์จริงแต่ดอกทานตะวันที่แก่แล้วหรืออายุมากแล้วจะไม่สนใจดวงอาทิตย์เลย ยิ่งเป็นดอกที่เหี่ยวแล้วจะไม่หันหน้าไปหาดวงอาทิตย์เลย นั่นคือวันสุดท้ายที่มันจะยังมีแรงหันหน้าไปหาดวงอาทิตย์ได้ ก้จะเป็นเวลาตอนเย็นกลางคืนทิ้งช่วงไป 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นรุ้งเช้าดอกทานตะวันก็จะไม่หันหน้าหาดวงอาทิตย์อีก ดอกทานตะวันที่เหี่ยวสวนใหญ่จะหันหน้าไปทาง(ทิศตะวันตก)[15] นอกเสียจากลมจะพัดแรงทำให้หันไปทิศทางอื่น